การจัดตั้ง “กองทุนพัฒนาสหกรณ์ ชื่อเดิม เงินทุนส่งเสริมการสหกรณ์”
ในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้ตั้งงบประมาณให้ไว้เป็นทุนช่วยเหลือสหกรณ์ประเภทต่างๆ เช่น สหกรณ์ขายข้าวและพืชผลร้านสหกรณ์และสหกรณ์นิคมกสิกรรม ฯลฯ โดยมอบให้กรมสหกรณ์ กระทรวงเกษตราธิการเป็นผู้พิจารณาจัดสรรให้สหกรณ์ประเภทต่างๆ กู้เพื่อเป็นทุน เรียกว่า“ทุนส่งเสริมการสหกรณ์” โดยให้สหกรณ์ประเภทต่างๆ นอกจากสหกรณ์ประเภทหาทุนกู้ไปขยายกิจการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น สหกรณ์ที่ได้รับความช่วยเหลือนี้ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ที่ดินและสหกรณ์พาณิชย์ ต่อมากระทรวง การคลังได้เห็นชอบให้รวมเงินทุนส่งเสริมการสหกรณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากเงินงบประมาณปี 2491 และปี 2492 เข้าด้วยกัน ซึ่งขณะนั้นมีจำนวนเงินทั้งสิ้น 25.768 ล้านบาท จัดตั้งเป็น “เงินทุนส่งเสริมการสหกรณ์” เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2493 หลังจากนั้นรัฐบาลได้ให้งบประมาณเพิ่มเติมเป็นรายปีจนถึงสิ้นปี พ.ศ.2500 มีเงินทุนรวมทั้งสิ้น 91.904 ล้านบาท(ตามรายงานครบรอบ 50 ปีของสหกรณ์ในประเทศไทย) |
ต่อมาได้มีการจัดตั้งเงินทุนต่างๆ เพื่อส่งเสริมกิจการสหกรณ์อีก ดังนี้ |
ปี 2509 เงินทุนหมุนเวียนจัดสหกรณ์ที่ดินและอาคาร |
ปี 2513 เงินทุนหมุนเวียนจัดตั้งและส่งเสริมสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม |
ปี 2518 เงินทุนหมุนเวียนโครงการเร่งรัดพัฒนาดินเปรี้ยวเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร |
ปี 2520 เงินทุนหมุนเวียนให้สหกรณ์ร้านค้ากู้ยืม |
ปี 2520 เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อให้สหกรณ์การเกษตรกู้ยืมสำหรับสร้างฉาง ซื้อและปรับปรุงที่ดิน |
ปี 2523 เงินทุนหมุนเวียนเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จำกัด |
การจัดตั้ง “เงินทุนหมุนเวียนสหกรณ์” |
ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 กรมส่งเสริมสหกรณ์พิจารณาเห็นว่า เงินทุนหมุนเวียนที่อยู่ในความดูแลของกรมฯ มีอยู่หลายเงินทุน แต่ละเงินทุนมีวัตถุประสงค์เป็นการเฉพาะ ทำให้การใช้ประโยชน์จากแต่ละเงินทุนมีจำกัด กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อขอรวมเงินทุนต่างๆ เข้าด้วยกัน และกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบตามหนังสือ ที่ กค 0507/119 ลงวันที่ 4 มกราคม 2527 ให้รวมเงินทุนต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น จำนวน 7 เงินทุน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเข้าเป็นเงินทุนหมุนเวียนเดียวกัน รวมเป็นเงิน 339.442 ล้านบาท ใช้ชื่อว่า “เงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมการสหกรณ์” ขึ้นในกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับส่งเสริมและพัฒนางานสหกรณ์ โดยการสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้สหกรณ์ต่าง ๆ กู้ยืมไปดำเนินธุรกิจให้บริการแก่สมาชิก แต่เนื่องจากความต้องการใช้เงินทุนมีจำนวนมาก ไม่สามารถจะพิจารณาสนับสนุนให้แก่ทุกสหกรณ์ได้ เพราะจำนวนเงินมีจำกัด ดังนั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้ขอตั้งงบประมาณประจำปี เพื่อขอเพิ่มจำนวนเงินทุน และได้รับงบประมาณ ดังนี้ |
ปี 2533 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 6.254 ล้านบาท |
ปี 2534 ได้รับเงินงบประมาณตามโครงการจัดการผลิตและการตลาดกระเทียมหอมแดงและหอมหัวใหญ่ จำนวน 100.000 ล้านบาท |
ปี 2535 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 49.000 ล้านบาท (โครงการนิคมสหกรณ์อีสานพัฒนา จำนวน 40.000 ล้านบาท โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูอาชีพของสมาชิกสหกรณ์ที่ประสบภัยจากไต้ฝุ่นเกย์ 9.000 ล้านบาท) |
ปี 2536 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 30.000 ล้านบาท (โครงการส่งเสริมและฟื้นฟูอาชีพของสมาชิกสหกรณ์ที่ประสบภัยจากไต้ฝุ่นเกย์ 9.000 ล้านบาท โครงการเร่งรัดเพิ่มผลผลิตสหกรณ์ ผู้ใช้น้ำ 10.000 ล้านบาท โครงการพัฒนาเกษตรผสมผสานในเขต นิคมสหกรณ์ 11.000 ล้านบาท) |
ปี 2538 ได้รับเงินงบประมาณสำหรับให้สหกรณ์ขนาดเล็กไม่มีแหล่งเงินทุนกู้ยืม จำนวน 200.000 ล้านบาท |
ปี 2539 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 700.000 ล้านบาท |
ปี 2540 ได้รับเงินงบประมาณ จำนวน 450.000 ล้านบาท |
รวมทั้งสิ้น 1,874.696 ล้านบาท |
การจัดตั้ง “เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์” |
กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) ได้ตั้งขึ้นในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2542 โดยมีเงินทุนแรกตั้ง จำนวน 2,286.350 ล้านบาท ซึ่งมีที่มาของเงินทุนจากแหล่งต่างๆ ดังนี้ |
-โอนเงินทุนหมุนเวียนส่งเสริมการสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 มาตรา 134 (วรรคท้าย) จำนวน 2,118.910 ล้านบาท |
-เงินทุนส่งเสริมการศึกษาทางสหกรณ์ จำนวน 99.820 ล้านบาท |
-เงินสมทบจาก ADB จำนวน 67.620 ล้านบาท |
ต่อมาได้รับงบประมาณประจำปีเพิ่มเติม ดังนี้ |
-ปีงบประมาณ 2543 จำนวน 50.000 ล้านบาท |
-ปีงบประมาณ 2544 จำนวน 50.000 ล้านบาท |
-ปีงบประมาณ 2545 จำนวน 531.610 ล้านบาท (เงินโครงการพัฒนาธุรกิจโคนม ตามโครงการงบกลางเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประจำปีงบประมาณ 2545 จำนวน 600.000 ล้านบาท ส่งคืนรายได้แผ่นดินจำนวน 68.390 ล้านบาท คงเหลือ 531.610 ล้านบาท) |
ในปี พ.ศ. 2545 พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 พ.ศ.2545 ได้โอนกองทุนพัฒนาสหกรณ์ไปตั้งไว้ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้รับงบประมาณประจำปีเพิ่มเติม ดังนี้ |
-ปีงบประมาณ 2551 จำนวน 50.000 ล้านบาท (โครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร ตามนโยบายของรัฐ 50.000 ล้านบาท) |
-ปีงบประมาณ 2552 จำนวน 139.000 ล้านบาท (โครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร ตามนโยบายของรัฐ 50.000 ล้านบาท และโครงการสนับสนุนเงินกู้แก่สหกรณ์เพื่อส่งเสริมสมาชิกปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ 89.000 ล้านบาท) |
-ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 100.000 ล้านบาท (โครงการสนับสนุนเงินกู้แก่สหกรณ์เพื่อส่งเสริมสมาชิกปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ 90.000 ล้านบาท และโครงการรวบรวมปาล์มน้ำมัน 10.000 ล้านบาท) |
-ปีงบประมาณ 2554 จำนวน 116.800 ล้านบาท (โครงการทุนหมุนเวียนสำหรับสหกรณ์ในโครงการพระราชดำริและโครงการหลวง 16.800 ล้านบาท และโครงการบริหารจัดการตลาดผลไม้ของสหกรณ์ 100.00 ล้านบาท) |
นอกจากนี้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ยังได้รับเงินบริจาคจากสหกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือด้านเงินทุนภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร (Agricultural Sector Program Loan : ASPL) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 - 2554 รวมเป็นเงิน 484.322 ล้านบาท |
ฐานะการเงินของกองทุนพัฒนาสหกรณ์ ณ วันต้นปีงบประมาณ 2555 มีเงินทุน จำนวน 4,527.983 ล้านบาท ประกอบด้วย |
-เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ จำนวน 3,323.765 ล้านบาท |
-เงิน ADB โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำนวน 12.057 ล้านบาท |
-เงิน ASPL จำนวน 484.322 ล้านบาท |
-รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย(สะสมตั้งแต่ปี 2542-2554) จำนวน 707.839 ล้านบาท |
เลขที่ 510/3 หมู่ที่ 4 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท 17150
โทรศัพท์. 0-5640-5228 โทรสาร. 0-5640-5227
E-mail
สงวนลิขสิทธิ์ โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดชัยนาท : ภาพประกอบและวิดีทัศน์ จากเว็บไซต์ freepik.com, flaticon.com
Copyright © 2022 Chainat Provincial Cooperative Office